แกะกล่องหุ่นเหล็ก GX-18 GX-19 GX-20 เก็ตเตอร์อภินิหารสามพลัง

วันนี้ขอมาแกะกล่องหุ่นในตำนานของ SOC อีกสักรุ่นที่นอกเหนือจากหุ่นกายสิทธิ์ นั่นคือ หุ่นสามพลังเก็ตเตอร์ ซึ่งผู้เขียนเป็นคนเดียวกับหุ่นกายสิทธิ์ ลักษณะหุ่นจะเป็นยานสามลำมารวมตัวกันเป็นส่วนหัว ลำตัว และขา ซึ่งตัวยานจะมีสีแดง น้ำเงิน และเหลือง ยานลำไหนอยู่ส่วนหัวก็จะเป็นคนบังคับหุ่น การจะออกแบบให้เป็นรูปร่างยานสวยๆ แล้วมาสามารถมาประกอบเป็นหุ่นสามแบบของเก็ตเตอร์นั้น ไม่สามารถจะทำออกมาได้สมบูรณ์ เพราะในอดีตจะเน้นจินตนาการของพล็อตเรื่องก่อน แล้วพยายามทำให้ของเล่นเป็นไปตามแนวเนื้อเรื่อง หุ่นเหล็กเก็ตเตอร์จึงออกมาเป็นแบบแยกตัว เพื่อความสมส่วนและสวยงามกว่า ถ้าจะเทียบกับหุ่นรวมร่างของขบวนการห้าสีในปัจจุบันแล้วนั้น การออกแบบของเล่นจะคู่ขนานไปกับการเดินเรื่อง ทำให้การประกอบรวมร่างได้ความสนุก และดูสมส่วนมากกว่า

เกริ่นมานานกับความคิดส่วนตัวล้วนๆข้างต้น ก็ขอเข้าสู่การแกะกล่องแบบสามหนุ่มสามมุมอีกสักรอบ (ครั้งที่แล้วเป็นรอบไรเดอร์V8 V9 V10)  มาเริ่มกันที่ภาพด้านหน้ากล่องเลยครับ

ต่อมาด้วยภาพด้านข้าง ซึ่งเหมือนกันทั้งซ้ายและขวา

ภาพด้านบนและล่างกล่องก็เหมือนกัน

ส่วนภาพด้านหลังกล่องซึ่งเป็นปกติที่จะมีรูปประกอบโชว์มากหน่อย ก็ขอแยกถ่ายออกมาให้ดูตามรูปครับ


จากนั้นขอมาเก็บรายละเอียดทีละตัว เริ่มที่ Getter 1 (Getter Dragon) ส่วนบังคับจะเป็นยานสีแดง จะเป็นตัวเอกของเรื่อง ของที่มาในกล่องจะประกอบด้วยกล่องบรรจุโครงหุ่นที่ยังไม่มีหัว แพ็คชุดชิ้นส่วนเสริมแขน มือ ผ้าคลุม กล่องใส่ฐานวางหุ่นไว้ยืนตรงเคารพธงชาติตามรูปหลังกล่อง กล่องยานบังคับ และคู่มือการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ

มาดูชิ้นส่วนเสริมกันชัดๆ

จากนั้นก็ส่วนหลักของหุ่น หลังออกจากกล่อง

ขอข้ามขั้นตอนประกอบไปเลยนะครับ เพราะไม่มีอะไรพิเศษ หลังจับชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบรวมกัน ก็ออกมาดังรูป

มาต่อกันเลยกับ  Getter 2 (Getter Liger) เกิดจากยานสีน้ำเงินเป็นส่วนบังคับ ของในกล่องก็บรรจุมาคล้ายๆ Getter 1 แต่จำนวนชิ้นส่วนจะน้อยกว่าเห็นๆ

ชิ้นส่วนมีมาน้อยมาก มือมีมาแค่สองสำหรับข้างซ้าย และขวาเท่านั้นจริงๆ

ตัวโครงหลักของหุ่น มีส่วนลำตัวและขา ที่เป็นเหล็กส่วนใหญ่

ประกอบรวมชิ้นส่วนเพื่อเตรียมโชว์

ตัวสุดท้าย Getter 3 (Getter Poseidon) ยานลำสีเหลืองเป็นส่วนบังคับ กล่องนี้มีน้ำหนักมากที่สุด

ชิ้นส่วนประกอบเสริมมีไม่มากเช่นกัน

โครงหลักของหุ่น จะมีส่วนลำตัว ขาท่อนบน และขาท่อนล่าง ซึ่งขาท่อนล่างจะมีชิ้นส่วนเป็นเหมือนล้อตีนตะขาบแบบรถถังให้มาเป็นอีกทางเลือก

ส่วนลำตัวของ Getter 3 ดูใหญ่โต และสามารถเปิดแผงอก ได้ดังรูป ลวดลายดูสวยงามดี (ส่วนตัวชอบเก็ตเตอร์สามมากสุด)

Getter 3 ในเรื่องนั้น ปกติจะมากับล้อตีนตะขาบแบบรถถัง แทนที่จะเป็นขาปกติ

เมื่อได้ออกมาสูดอากาศกันพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งสามเหล็กสามมุม ก็ขอโชว์เดี่ยวกันคนละรูปสักกะหน่อย

จากนั้นก็รวมยานทั้งสาม ก่อนจะประกอบรวมตัวกันเป็นเก็ตเตอร์ร่าง 1 2 หรือ 3

ตามระเบียบ เมื่อแกะกล่องเสร็จเรียบร้อย ก็เก็บเข้าตู้ซะ

โดยสรุป หุ่นเหล็ก SOC รุ่นแรกๆ น้ำหนักจะได้ใจนักสะสมรุ่นใหม่ เมือเทียบกับหุ่นรุ่นใหม่ที่มีน้ำหนักเบากว่าอย่างรู้สึกๆได้ (คงลดต้นทุน) ถึงแม้นว่ารายละเอียดของหุ่นรุ่นใหม่ๆจะสวยงามกว่า หุ่นสามตัวนี้นับว่าควรเอาออกมาโชว์ คู่กับทีมญาติๆของ Mazinger เพราะมันเป็นซีรี่ย์หุ่นอมตะ เราไม่ควรจะให้มันนอนอยู่ในกล่องเฉยๆ  นับว่าเป็นหุ่นรุ่นเก่าอีกชุดที่ต้องตามหากันพอสมควรเหมือนกัน ราคาคงอยู่ที่ความพอใจของทั้งสองฝ่าย และเจ้าสามตัวนี้ก็ทำให้ผมมีอันต้องมนต์สะกด คว้าเอาไอ้ตัวข้างหลังติดมือมาตอนไหนยังจำไม่ได้เลย

สามารถอ่านบทความแกะกล่องของเล่นย้อนหลัง ได้ตามลิงค์ข้างล่าง
แกะกล่องเหล่าไรเดอร์ยุคโชวะ (V1-V6)
แกะกล่อง SIC V7 มาเป็นคู่
แกะกล่อง SIC Sky Rider, Super One, ZX
แกะกล่องหุ่นเหล็ก GX-61 Daiohja
แกะกล่อง Mazinkaiser ของ Max Factory
แกะกล่องหุ่นเหล็กสาว GX-8, GX-9, GX-11 และ GX-12
แกะกล่องหุ่นเหล็ก GX-02R Great Mazinger

2 thoughts on “แกะกล่องหุ่นเหล็ก GX-18 GX-19 GX-20 เก็ตเตอร์อภินิหารสามพลัง

  1. Pingback: แกะกล่องหุ่นเหล็ก GX-42 Jeeg | AramBros

  2. Pingback: แกะกล่องหุ่นเหล็ก GX-52 Getter1 | AramBros

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s