ขั้นตอนการรวมร่าง GX-61 ไดโอจา
เสน่ห์หลักๆของหุ่นประเภทรวมร่าง ไม่ว่าจะเป็นแบบยานพาหนะหลายลำมารวมกัน หรือหุ่นยนต์สัตว์หลายๆตัวมารวมกัน เพื่อเป็นหุ่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็คือการที่เราได้มาค้นหาว่าต้องบิดๆหักๆส่วนไหน เพื่อจะมารวมกันเป็นหุ่นตัวใหญ่ บางครั้งยังต้องทึ่งในความสามารถและความตั้งใจของคนออกแบบของเล่น
ที่ต้องทำโจทย์จากหนังการ์ตูน ให้มาเป็นของเล่นที่สามารถแยกประกอบรวมร่างกันได้จริงๆ และต้องคงสภาพใกล้เคียงกับการ์ตูนให้มากที่สุด จะยิ่งสุดยอดมากๆถ้าถึงขั้นที่เป็นการรวมร่างแบบสมบูรณ์โดยไม่มีการถอดเอาชิ้นส่วนที่ไม่ต้องการออกหรือออกน้อยที่สุด เพราะต้องคิดถึงโครงสร้างที่จะต้องซ่อนส่วนต่างๆที่ไม่ได้ใช้ตอนประกอบร่างเป็นตัวใหญ่ หรือเอาส่วนต่างๆของหุ่นตัวใหญ่ซ่อนไว้ในโครงของหุ่นตัวเล็กก่อน นั่นน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หุ่นขบวนการ เป็นที่นิยมกันมาจนถึงปัจจุบัน (ดูบทความเก่าที่เคยเอาวีดีโอขั้นเทพของการประกอบรวมร่างหุ่น)
วันนี้ลองมาขยายบทความแกะกล่องหุ่นเหล็ก SOC GX-61 ไดโอจา ถึงขั้นตอนการประกอบรวมร่างของหุ่นยนต์สามตัว ให้เป็นหุ่นตัวใหญ่กัน และเป็นครั้งแรกของการเขียนขั้นตอนประกอบหุ่นของผม รูปภาพต่างๆบางมุม อาจดูแล้วก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี แต่ก็หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้อารมณ์ร่วมไปกับการประกอบหุ่นรวมร่างด้วยกัน
เรามาเริ่มกันที่หุ่นตัวแรก Ace Reder กันเลยดีกว่า
เริ่มกันที่มือของหุ่น ก่อนเก็บซ่อนต้องพับเก็บตามรูปเพื่อให้สามารถเก็บเข้าไปในช่องได้พอดี
เก็บมือเสร็จกับดันท่อนแขนให้หดเข้า พร้อมกางแขนไว้เป็นรูปไม้กางเขน
แผงหน้าอกสามารถถอด ออกมาแล้วหมุนกลับโลโกโพธิ์ดำเดี่ยว เป็นโพธิ์ดำรวมสามดอก
ผลิกกลับด้านหลัง ส่วนขาสามารถเปิดฝาออก แล้วพับเท้าของหุ่นเพื่อเก็บซ่อน
ดันส่วนขาหุ่นขึ้นเพื่อหดขนาด จากนั้นหักกลางลำตัวหุ่นตามรูป ซึ่งจริงๆสามารถถอดออกมาได้เพื่อที่ เวลาเก็บซ่อนแขนหุ่นทำได้สะดวกขึ้น
ขั้นตอนการพับเก็บซ่อนแขนไว้ในบริเวณอกของหุ่น ไม่รู้จะอธิบายยังไงดี ลองพยายามดูนะครับ เพราะภาพนิ่ง คงไม่สามารถบรรยายได้มากนัก เลยของแสดงรูปที่พับเก็บเข้าไปเรียบร้อย สิ่งสำคัญคือ ทิศทางมุมของข้อต่อแต่ละชิ้นต้องถูกตำแหน่งจึงสามารเก็บเข้าได้สนิท ถ้าสังเกตุดีๆบางรูปของผมก็ยังเก็บเข้าไม่สนิท ต้องมาถ่ายรูปแก้บางจุด
พับขาหุ่นที่หดขนาด ไปด้านหลัง 180 องศา แล้วก็พับกลับลงมาอีก 180 องศา
แผงประกบด้านข้างใบหน้าสามารถ ดึงขึ้นและขยายออกมาเป็นเกราะหัวไหล่
เขาซึ่งพับอยู่ด้านหลัง ก็พับกลับขึ้นมาสวมใบหน้าหุ่นให้ดู มีบุคคลิกน่าเกรงขามขึ้น ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการเตรียมพร้อมสำหรับรวมร่างของเจ้า Ace Reder
ต่อมาก็ถึงคิวของ Ao-der
บริเวณมือทำเช่นเดียวกัน เพื่อที่จะหดเก็บมือเข้าไปได้สนิท
บริเวณขาให้ดึงชิ้นส่วนบริเวณหัวเข่าลง และดันข้อเท้าขึ้น จะเห็นมือยักษ์โผล่ออกมา (สาเหตุที่หุ่นยืนไม่ค่อยได้)
ง้างแผงหน้าอกขึ้นตามรูป สามารถหมุนแผงเพื่อเก็บซ่อนโลโก้ พร้อมเปิดฝาบริเวณหัวไหล่เตรียมเพื่อขั้นตอนต่อไป
ดึงขา (ในรูปกลายเป็นแขนไปแล้ว) ลงมาพร้อมๆกันทั้งสองข้าง
Ao-der หัวหดหายไปซะแล้ว
หดแขนของหุ่นตัวเล็ก และพับขึ้นไปแทนที่หัว ตามรูป
จากนั้นก็พับขาหุ่น (แขนของหุ่นตัวใหญ่) ออกทั้งสองข้าง ประมาณ 90 องศา
หดแขนยักษ์ (ขาของหุ่นตัวเล็ก) เพื่อให้สมส่วน และพร้อมสำหรับการรวมร่าง
ตัวสุดท้าย Cobalt-der แม้นว่าตัวหุ่นจะขยับได้ไม่มาก แต่เป็นตัวที่ผมว่าออกแบบซ่อนได้สุดๆในความเห็นส่วนตัว มาดูกันว่าตรงไหน
เริ่มขั้นแรก ก็หักคอหุ่นกันกันเลย อย่าหักแรงนะครับ หัวจะหลุดออกมา เพราะเป็นข้อต่อแบบบอลจ๊อย (Ball Joint) สามารถประกอบกลับเข้าไปได้ ไม่ต้องตกใจถ้าหัวหลุดออกมา
จากนั้นก็ผ่าครึ่งซีก แต่ขอบอกว่ากว่าจะกล้าหักแแยกเป็นสองซีกได้ก็ใช้เวลานานทีเดียว เพราะมันแข็งมากครับ กล้าๆหักแบ่งสองซีกเลยไม่ต้องยั้ง เพราะไม่นั้นไปต่อไม่ได้
หลังหักแบ่งเป็นสองท่อน ก็พบสาเหตุที่มันแน่นหนาจนหักเบาๆไม่ออก เพราะมีเขี้ยวประกบอยู่หลายจุด ตามรูป
มาเริ่มกันที่ซีกที่มีหัวเจ้า Cobalt-der อยู่ ใต้หัวจะมีฝาพับให้เปิดออก แล้วบิดโลโก้โพธิ์ดำครึ่งซีกซ่อนไว้
จากนั้นพับหัวเก็บซ่อนเข้าที่ตามรูป (เวลาเอาหัวออกค่อนข้างยาก ต้องหาไม้จิ้มฟันมาแงะๆ)
พับฝาปิดเป็นอันซ่อนหัวหุ่นได้เรียบร้อยดี
กลับมาที่อีกซีก ฝาจะเล็กหน่อย เพราะซ่อนเพียงโลโก้
เก็บเรียบร้อยเช่นกัน ตามรูป
จากนั้นดึงลำตัวแยกกับท่อนขางอข้อมือหุ่นตามรูป พร้อมหดท่อนแขนเข้าที่ และดึงเกราะสะโพกลงมา
มาดูอีกมุม เพื่อให้เข้าใจจุดประสงค์ ของการดึงๆ งอๆ พับข้อแขน ตามรูป
เมื่อมือของหุ่นเข้าไปซ่อนในช่ิงเรียบร้อย ก็กดช่วงลำตัวกลับมาให้สนิทดังปกติ ถ้ากลับหัวลง ก็จะเห็นว่าได้กลายสภาพเป็นขาท่อนใหญ่แทนแล้ว นี่ละครับที่ผมว่ามันสุดยอด จากหุ่นครึ่งซีกกลายเป็นขาที่ดูสมส่วนด้วยซ้ำ
ทำแบบเดียวกันกับอีกซีกหนึ่ง จากนั้นก็เตรียมพร้อม กับการรวมร่างซะที
ประกบท่อนขาซ้ายขวา(โคบอลเดอร์) เข้ากับท่อนลำตัว(อโอเดอร์)
จากนั้นท่อนหัว(เอส เรดเดอร์) ก็เข้ารวมร่างเป็น Daiohja
Daiohja ด้านหน้่า ด้านข้าง และด้านหลัง ซึ่งยังดูไม่สมส่วนดี
Daiohja เริ่มมองหาอุปกรณ์เสริมความงาม และความเท่ห์ ณ บัดนาว
ชิ้นส่วนเสริมความงาม เกราะหัวไหล่(สีแดง) ส่วนเสริมหัวไหล่(สีเงิน) เกราะปิดบริเวณข้อเท้า(สีเทาและน้ำเงิน) ฝาปิดข้อเท้าด้านหลัง(สีน้ำเงิน) พร้อมดาบไว้เสริมความดุดัน
ประกอบเกราะข้อเท้า ตามรูป
ดูเทียบกันแล้วแล้ว ช่วยให้เก็บซ่อนส่วนต่างๆบริเวณข้อเท้าให้ดูดีขึ้น
ฝาปิดข้อเท้าด้านหลัง เพื่อความสวยงาม แต่เวลาใช้งานจริงโพสต์ท่า หลุดบ่อยมาก
ด้านซ้ายของหุ่น ด้านขวาของเรา เกราะหัวไหล่ใหญ่ขึ้น ก็เลยต้องเสริมหัวไหล่ให้สมส่วน
Daiohja กับดาบยักษ์คู่ใจ
Daiohja กับการแผงศร ยิงธนูปราบศัตรู
ยังมีทีเด็ดของอาวุธของหุ่นทั้งสาม กระบี่ ทวนสองแฉก และกระบองหนาม
ถอดบางส่วน แล้วนำมารวมกันเป็น อาวุธพิเศษ ตามรูป
ยังไม่หมดแค่นั้นครับ ชิ้นส่วนปีกของแต่ละตัว สามารถมารวมกันได้ แต่มีขั้นตอนของปีก เอส เรดเดอร์ ที่ต้องสลับข้างซ้ายขวา และกลับทิศทาง เพื่อให้มุมปีกซ้อนกันได้
รูปของปีกทั้งสามเมื่อรวมกัน
เป็นอันเสร็จภาระกิจแกะกล่องอันแสนยาวนาน ที่มีรูปเยอะจนงงๆตอนเอามาลงประกอบบทความ เจ้า Daiohja ก็เข้าประจำตำแน่งของตู้ชั้นบนสุด
แล้วมาพบกันอีกครั้งกับกิจกรรมใหม่ หุ่นเหล็กไดโอจา พาทัวร์เร็วๆนี้
สามารถอ่านบทความแกะกล่องของเล่นย้อนหลัง ได้ตามลิงค์ข้างล่าง
แกะกล่องเหล่าไรเดอร์ยุคโชวะ (V1-V6)
แกะกล่อง Mazinkaiser ของ Max Factory
แกะกล่อง SIC V7 มาเป็นคู่
แกะกล่องหุ่นเหล็ก GX-61 Daiohja
Pingback: แกะกล่องหุ่นเหล็ก GX-61 Daiohja | AramBros